Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • ประวัติ “ท้าวทองกีบม้า” ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ผู้สร้างตำนานขนมไทย

ประวัติ “ท้าวทองกีบม้า” ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ผู้สร้างตำนานขนมไทย

กลายเป็นที่พูดถึงสำหรับ ท้าวทองกีบม้า” หนึ่งในตัวละครคนสำคัญในเรื่องพรหมลิขิต (Love Destiny 2) ภาคต่อจากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ว่าเธอจะมีชีวิตอยู่อย่างไร หลังกำลังตกอยู่ในช่วงลำบากยากแค้น และเธอได้กลายมาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านขนมไทยได้อย่างไร

หลังเมื่อคืนนี้ (18 ตุลาคม 2566) มีฉากการพูดคุยกันระหว่าง พระยาวิสูตรสาคร (โป๊ป ธนวรรณ์) และ แม่หญิงการะเกด (เบลล่า ราณี)

“งานนวราตรี 2566” ตรงกับวันไหน เช็กประวัติ-กำหนดการวัดแขกสีลม ที่นี่!

“นวราตรี 2566” เปิดวิธีบูชา-ช่องทางชมถ่ายทอดสดพิธีกรรม

ที่พูดถึง “แม่ละลิ” หรือ “ท้าวทองกีบม้า” (ซูซี่ สุษิรา) ที่กำลังตกอยู่ในช่วงลำบากยากแค้น แต่แม่หญิงการะเกดกลับไม่เป็นห่วงเพื่อน ทำให้ พระยาวิสูตรสาคร ถามว่า รู้อยู่แล้วใช่ไหมว่า “แม่มะลิ” จะจบสวย ซึ่งแม่การะเกดก็ตอบว่า แม่มะลิมีวิบากกรรมของนางแต่จะผ่านพ้นไปได้ในที่สุด และในบั้นปลายชีวิตของ “แม่มะลิ” จะรุ่งโรจน์ยิ่งกว่าช่วงที่ยางเป็นท่านผู้หญิงของพระยาวิไชเยนทร์เสียอีก

สำหรับ ท้าวทองกีบม้า” เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้คิดค้นขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรุเกส อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองม้วน หรือขนมหม้อแกง จนได้รับสมญานามว่าเป็น ราชินีขนมไทย” แม้ว่าจะไม่มีผู้ใดหรือหลักฐานใด ๆ ที่บ่งบอกว่าเธอเป็นผู้ประดิษฐ์สูตรขนมขึ้นมาจริง ๆ แต่คำเล่าลือเหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนเชื่อถือ และดูจะกลายเป็นเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์ที่สุด

แต่ชีวิตของ ท้าวทองกีบม้า” ตกอับได้อย่างไร และท้ายที่สุดได้เข้ามาเป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนักจนมีชื่อเสียงด้านขนมไทยได้อย่างไร วันนี้ทีมข่าว นิวมีเดีย พีพีทีวี ขออาสารวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันน่ารู้มาฝากทุกคนกัน

ประวัติ “ท้าวทองกีบม้า”

ท้าวทองกีบม้า” มีชื่อเดิมว่า นางมารี กีมาร์ เดอ ปิน่า” (Maria Guyomar de Pinha) หรือบ้างก็ถูกเรียกว่า "มารี ตอง กีมาร์"เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส เบงกอล และญี่ปุ่น

โดยเธอเป็นธิดาคนโตของ “ฟานิก กียูมาร์” บิดาที่มีเชื้อสายโปรตุเกส ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัว กับมารดาชื่อ “อูร์ซูลา ยามาดะ” ลูกหลานผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตามยังไม่มีการชี้ชัดว่า ฟานิก เป็นบิดาที่แท้จริงของเธอหรือไม่ เพราะมีงานเขียนหนึ่งของ อี. ดับเบิลยู ฮัตชินสัน ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจำนวนสองเล่ม ที่มีการกล่าวถึงประวัติชีวิตของท้าวทองกีบม้า คือAdventure in Siam in the 17th Century.และ1688 Revolution in Siam.โดยกล่าวถึง ฟานิก ว่า "ผู้เลี้ยงดู" หรือ "พ่อเลี้ยง" เท่านั้น

แต่เอกสารบางชิ้นก็ว่า มารี กีมาร์ ผิวคล้ำละม้าย ฟานิก และเอกสารของบาทหลวงฝรั่งเศส ต่างไม่ลังเลใจที่จะเรียก ฟานิก ว่าเป็นบิดาของนาง

ชีวิตสมรสของ "มารี กีมาร์'

มารี กีมาร์” อายุได้ 16 ปี ก็สมรสกับ พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางชาวกรีกที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ในตอนแรกบิดาของนางไม่พอใจในพฤติกรรมของลูกเขยที่หลงลาภยศสรรเสริญและมักในโลกีย์นัก ฟอลคอนจึงแสดงความจริงใจด้วยยอมละนิกายแองกลิคันที่ตัวเองนับถือ เปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกตาม มารี กีมาร์

ฟานิก จึงเห็นแก่ความรักของคอนสแตนตินและยินยอมได้ทั้งสองสมรสกัน โดยมีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและขุนนางผู้ใหญ่เข้าร่วมงานมงคลสมรสดังกล่าว

หลังการสมรส มารี กีมาร์ ก็ยังดำรงชีวิตอย่างปกติไม่โอ้อวดในยศถาบรรดาศักดิ์ ซ้ำยังชี้ชวนให้สามีปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอขึ้นกว่าเก่า

ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันสองคนคือ จอร์จ ฟอลคอน กับ คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือบ้างว่าชื่อ ฆวน ฟอลคอน

แต่ก่อนหน้านี้ ฟอลคอน มีบุตรสาวคนหนึ่งที่เกิดกับหญิงชาววังที่ได้รับพระราชทานจากกรมหลวงโยธาเทพ เพื่อผูกมัดฟอลคอนไว้กับราชสำนัก หลังสมรสแล้ว มารี กีมาร์ จึงส่งหญิงผู้นั้นไปเมืองพิษณุโลก และแสดงน้ำใจด้วยนำบุตรของหญิงผู้นั้นมาเลี้ยงเองเป็นอย่างดี นอกจากนี้เธอและสามียังอุปถัมภ์เด็กเข้ารีตกว่า 120 คน

แต่ชีวิตสมรสของเธอก็ไม่ราบรื่นนัก เพราะความเจ้าชู้ของ ฟอลคอน ที่นอกใจนางไปมีสัมพันธ์สวาทกับ คลารา (Clara) นางทาสชาวจีน ในอุปการะของเธอ มารี กีมาร์ จึงขนข้าวของและผู้คนจากลพบุรีกลับไปที่กรุงศรีอยุธยามาแล้วครั้งหนึ่ง

เก็บตก 36 ภาพ “เทศกาลกินเจ 2566” มนต์เสน่ห์งานบุญใหญ่วิถีไทยจีน

ราหูย้าย 2566 เปิดวิธีไหว้พระราหู-ประวัติความเชื่อทางโหราศาสตร์

“วันฮาโลวีน” เปิดประวัติทำไมถึงตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี

ชีวิตที่ตกอับ หลังสูญเสียสามี-พระเพทราชายึดอำนาจ

แต่ชีวิตที่รุ่งโรจน์ของเธอก็พลันดับวูบลง เมื่อพระยาวิไชเยนทร์ผู้เป็นสามี ถูกตัดสินประหารชีวิตและริบราชบาตรหลังเกิดจลาจลก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงไม่กี่วัน

แต่กระนั้นเธอยังลอบแบ่งทรัพย์สินและเครื่องเพชรออกเป็นสามกล่อง สองกล่องแรกไว้กับบาทหลวงเยสุอิต ส่วนอีกกล่องเธอฝากไว้ที่ทหารฝรั่งเศสชั้นนายร้อยไป แต่บาทหลวงเยสุอิตเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงฝากไว้กับนายพันโบช็อง

แต่เมื่อถึงเวลาคืนทรัพย์สินของพระยาวิไชเยนทร์แก่ออกญาโกษาธิบดีผู้แทนของไทย ทรัพย์สินที่คงเหลือมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ มารี กีมาร์ จึงมีสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องประสบเคราะห์กรรมและความทุกข์อย่างสาหัส ทั้งยังต้องทนทุกขเวทนากับกับคุมขัง

แต่ท่ามกลางความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดี เพราะผู้คุมที่เคยได้รับการอุปการะเอื้อเฟื้อจากนาง ได้ลักลอบให้ความสะดวกบางประการแก่นาง ขณะที่ชาวต่างด้าวคนอื่นจะถูกกักขังและทำโทษอย่างรุนแรง

จุดเริ่มต้นสมญานาม “ราชินีขนมไทย”

ต่อมาเธอได้ถูกนำตัวไปเป็นคนใช้ในวัง เข้ารับราชการในห้องเครื่องต้น กำกับเครื่องชาวพนักงานหวานในพระราชวัง เธอได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปตุเกสให้เป็นขนมหวานของไทย โดยผสมผสานความรู้ด้านการทำอาหารที่มีมาแต่เดิมมารวมเข้ากับวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ทั้งยังสอนความรู้ดังกล่าวแก่เหล่าสตรีในบัญชา จนตำรับเป็นที่เผยแพร่โดยทั่วไปและตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลังถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมโปรตุเกสที่แพร่เข้าสู่สังคมไทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ด้วยเหตุนี้ท้าวทองกีบม้าจึงได้การยกย่องให้เป็นราชินีแห่งขนมไทย โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น ได้แก่

  • ทองม้วน
  • ทองหยิบ
  • ทองหยอด
  • ทองพลุ
  • ทองโปร่ง
  • ขนมหม้อแกง
  • สังขยา
  • ขนมผิง
  • สัมปันนี
  • ขนมขิง
  • ฝอยทอง
  • ขนมไข่เต่า
  • กะหรี่ปั๊บ
  • ลูกชุบ

 ประวัติ “ท้าวทองกีบม้า” ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ผู้สร้างตำนานขนมไทย

อย่างไรก็ตามมีบางข้อมูลกล่าวว่า ความคิดที่ว่าท้าวทองกีบม้าเป็นผู้ผลิตขนมหวานที่รับอิทธิพลโปรตุเกสได้เป็นคนแรกอาจเป็นเรื่องที่ผิด โดย ปรีดิ พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เปิดเผยว่า ขนมโปรตุเกสที่นำเอามาดัดแปลงเหล่านี้ได้แพร่หลายมาพร้อม ๆ กับกลุ่มชนเชื้อสายโปรตุเกสที่เข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามากว่า 150 ปีก่อนที่ท้าวทองกีบม้าจะเกิดเสียอีก ทั้งยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่านางได้ผลิตขนมดังกล่าวจริง

แต่คำเล่าลือต่อมากลายเป็นเรื่องที่ทุกคนเชื่อถือกัน และดูจะกลายเป็นเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์ที่สุด

บั้นปลายชีวิตผู้มีชื่อเสียงรุ่งโรจน์ที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

โชคร้ายของนางยังไม่หมดเท่านี้ เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชโอรสในสมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าแผ่นดินใหม่ ได้หลงใหลพึงใจในรูปโฉมของนาง และมีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นบาทบริจาริกา มีการส่งคนมาเกลี้ยกล่อมพร้อมคำมั่นนานัปการ หวังเอาชนะใจนาง เมื่อไม่สมดั่งใจประสงค์ก็แปรเป็นความเกลียดและขู่อาฆาต

ตลอดเวลาทุกข์ลำบากนี้ นางพยายามหาทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา นายพลเดฟาร์ฌที่ประจำการที่ป้อมวิไชยเยนทร์ที่บางกอกได้ให้สัญญากับนางว่าจะพาออกไปพ้นกรุงสยาม แต่นายพลเดฟาร์ฌก็ได้บิดพลิ้วต่อนาง

กระทั่งเธอเขียนจดหมายส่งไปยังบิชอปฝรั่งเศสในประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.2249 เพื่อขอให้บาทหลวงกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14ให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บังคับให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทฝรั่งเศสที่สามีเคยเป็นผู้อำนวยการแก่นางบ้าง และพรรณนาความทุกข์ยากลำบากของนาง

ในปี พ.ศ. 2260 รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของฟอลคอนแก่นางตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้

ท้ายที่สุดเธอก็ได้พ้นจากวิบากกรรมอันเลวร้าย และได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดโดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna) ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. 2265

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย

ขอบคุณภาพจาก : Freepik, Japanese Village และ วิกิพีเดีย

ราชกิจจาฯเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 11 แกนนำพันธมิตรฯ

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

ประกาศเตือนฉบับที่ 4 พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้น!